Tuesday, 11 July 2006

นักวิเคราะห์ชี้ Java EE อยู่ได้ไม่เกิน 5 ปี

นักวิเคราะห์ชี้ Java EE อยู่ได้ไม่เกิน 5 ปี เพราะ SOA และ ความซับซ้อนของ Java EE เอง

Richard Monson-Haefel นักวิเคราะห์ของ Burton Group (www.burtongroup.com)และผู้แต่งหนังสือ J2EE Web Services บอกว่า 5 ปีถัดจากนี้ Java EE จะไม่เป็น platform หลักในการพัฒนา application อีกต่อไป นายคนนี้ให้เหตุผลว่า Java EE platform มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เกินกว่าที่นักพัฒนาจะเอาไปใช้ได้ หลายฝ่ายจึงหันไปใช้ Ruby-on-Rails แทน ในไม่ช้า Java EE จะหายไปจากตลาดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับ CORBA(Common Object Request Broker Architecture) ซึ่งสุดท้ายก็ไม่มีใครสนับสนุน และใช้อีกต่อไป

Monson-Haefel ไม่ใช่คนเดียวที่พูดแบบนี้ Jason Bloomberg นักวิเคราะห์ ZapThink(www.zapthink.com) กล่าวว่า ทุกครั้งที่ Java EE ออกเวอร์ชันใหม่ หรือมีการเพิ่ม module มันเป็นเพียงเพิ่มความซับซ้อนเท่านั้น สุดท้ายมันจะพังลงมาด้วยน้ำหนักของตัวเอง Jason Bloomberg ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ SOA และ Web services ยังบอกด้วยว่า SOA จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ Java EE หมดความสำคัญลง เพราะ Java EE ไม่ได้ถูกสร้างเพื่อรองรับ SOA โดยเฉพาะ Java มีหลายองค์ประกอบทั้ง OO programming language, virtual machine และ Java EE แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เหมาะสมกับ SOA platform เลย

Object orientation (OO) ที่ใช้ใน Java EE ไม่เหมาะกับ service orientation ที่เป็นหัวใจของ SOA ในมุมมองของ OO นั้น service และ service instance เป็นสิ่งเดียวกัน ขณะที่ object instance เป็นเพียงสิ่งเล็กๆใน SOA เท่านั้น virtual machine ก็ไม่เหมาะกับ SOA เพราะ virtual machine มีเป้าหมายเพื่อ code portability(เขียน code ครั้งเดียวทำงานได้ทุกที่) ขณะที่ SOA มีเป้าหมายที่ interoperability (การทำงานร่วมกันได้ของระบบที่ต่าง platform กัน) นั่นคือ portable code อาจช่วยให้รัน code ได้หลายที่(window หรือ linux) แล้วใช้ RMI เรียกเอา แต่ SOA แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน interface ซึ่งผู้รับ-ส่ง จะเป็น java code หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น portable code จึงแทบไม่มีความสำคัญอีกต่อไป

Monson-Haefel ยังบอกด้วยว่า service orientation ยังทำให้ความจำเป็นที่ต้องมี platform เดียว เช่น Java EE หมดไปอีกด้วย SOA และ web service แทบไม่สนว่า backend จะทำงานด้วยอะไร แต่เน้นไปที่ interface ที่ใช้ติดต่อกัน เช่น xml หรือ http

ข่าวนี้ก็ฟังหูไว้หูละกันนะครับ

ที่มา http://searchwebservices.techtarget.com/originalContent/0,289142,sid26_gci1198211,00.html